นิทรรศการผลงานศิลปะ ทากาชิ อะคิยามะ

DSCF7977

หลังจากเดือนที่แล้วห่างหายกันไปแบบงงๆ กับนิทรรศการหมุนเวียนที่จัดขึ้นกันเป็นประจำที่ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเดือนนี้ผมเลยต้องแวะมาจัดให้หนำใจกันอีกครั้ง สำหรับคนที่ชื่นชอบมาชมงานศิลปะกันเป็นประจำที่หอศิลป์ดังกล่าว

โดยนิทรรศการในเดือนนี้ ใช้ชื่อว่า "Takashi Akiyama in Chiangmai" หรือ “นิทรรศการผลงานศิลปะ ทากาชิ อะคิยามะ” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 28 กันยายน 2557บริเวณชั้น 1 ด้านหน้าหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DSCF7975

ผลงานศิลปะที่จัดแสดงครั้งนี้ หลักๆ เลย (ทั้งหมดนั่นแหละ) เป็นผลงานของศาสตราจารย์ ทาคาชิ อากิยามะ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการของแบบ ของมหาวิทยาลัยทามะ ประเทศญี่ปุ่น และผู้อำนวยการของ พิพิธภัณฑ์โปสเตอร์ ทาคาชิอากิยามะ ในจังหวัดนาโงยา ที่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกในฐานะการสร้างผลงานที่แสดงถึงความเห็นทางสังคมโดยการผสมผสานพลังอำนาจและความเป็นคนอารมณ์ขัน จนทำให้ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผลงานของเขาได้รับการยกย่องจากการแข่งขันระดับนานาชาติที่สำคัญในเวทีระดับโลก รวมไปถึงรางวัลเหรียญทองในปี1986 ของงาน วอร์ซอ Biennial

DSCF7964

“เชียงใหม่ ถือเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ อันมีวัดและโบราณสถานจำนวนมาก ผมจึงมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอนิทรรศการ  “Takashi Akiyama in Chiang Mai” ที่จะจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้”  ศาสตราจารย์ ทาคาชิ อากิยามะ ได้หล่นความเห็นอย่างภูมิใจ ที่ตัวเองได้มีโอกาสมาจัดแสดงผลงานในครั้งนี้

DSCF7965

DSCF7969

DSCF7972

ผลงานทั้งหมดที่จัดแสดงนั้น ศาสตราจารย์ ทาคาชิ อากิยามะ ได้สื่อว่ามนุษย์มักที่จะสื่อสารผ่านทางกระบวนการ การมองเห็น จากภาพสัญลักษณ์ สู่ตัวอักษร จากตัวอักษร ส่งกลับมาเป็นภาพสัญลักษณ์อีกครั้ง ภาพประกอบจึงถูกพัฒนาให้มีความน่าสนใจด้วยวิธีการนำเสนอโดยใช้ความเฉียบแหลมแสดงออก ถึงการสื่อทุกรูปแบบของ “ศิลปะภาพประกอบ” ดังความจริงที่ว่าภาพประกอบนั้น สามารถเป็นจุดซ่อนความรู้สึกของทุกๆ ภาษาเอาไว้ ภาพประกอบจึงสามารถเข้าถึงจิตใจของผู้คน โดยทันทีทันใดอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งออกมาจากความประทับใจในส่วนลึก รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึก ที่ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นถ้อยคำได้ นั่นคือส่วนหนึ่งของพลังอำนาจของข้อมูลในการสื่อสารการคิดของมนุษย์ และความคิดที่ได้จารึกสู่ประวัติศาสตร์ ผ่านถ้อยคำและภาพเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน “การมองเห็นข้อมูลข่าวสาร” เหล่านี้ยังคงปรากฏต่อพวกเราในปัจจุบัน นอกเหนือในเรื่องพื้นที่และเวลา แต่บางครั้งก็ขาดบทบาทสำคัญไปอย่างง่ายดาย ในการที่ภาพประกอบจะแสดงออกถึงประวัติศาสตร์ ซึ่งความสำเร็จของมันจะต้องเป็นที่ยอมรับเสียก่อน และแน่นอน หากปราศจากภาพประกอบ, มนุษย์ก็จะปราศจากการสื่อสาร ที่มีแต่ความว่างเปล่าและความเงียบเหงา ภาพประกอบจึงถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญ  “ที่มนุษย์สร้างขึ้น” และถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมของมนุษย์เรา โปสเตอร์จึงเป็นดั่งเสียงเงียบ กรุณากรองผ่านหูของคุณและรับฟังเสียง

DSCF7963

สำหรับใครที่สนใจไปชมผลงานของ ศาสตราจารย์ ทาคาชิ อากิยามะ ย้ำกันอีกครั้ง งานมีจัดแสดงกันในระหว่างวันที่ 10 -28 กันยายน 2557 ที่บริเวณชั้น 1 ด้านหน้าหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใครว่างๆ ก็แวะไปกันได้ครับ