วัดแสนหลวง

DSCF4380

วัดหลายแห่งในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งต่างอำเภอมักถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่เจ้าขุนมูลนายในสมัยก่อนที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา

เอาเท่าที่นึกออกในตัวเมืองล่ะกัน อย่างวัดพันอ้น วัดหมื่นเงินกอง วัดพวกนี้ ถูกจัดอยู่ในข่ายที่ว่ามาตั้งแต่ข้างต้น

ทีนี้ พอเหลือบมองจากในตัวเมืองมาทางฟากฝั่งของอำเภอสารภีบ้าง ที่นี้ก็จะมีวัดแสนหลวง ที่อยู่บรรจุรวมอยู่ในนั้น

DSCF4385

วัดแสนหลวง ตามประวัติความเป็นมาจากตำนานเล่าว่า วัดแสนหลวง สร้างด้วยศรัทธา เพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับราชการในตำแหน่ง “แสนหลวง” ในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อปี พ.ศ.2339

DSCF4383

เมื่อสร้างเมืองเวียงหวากเสร็จแล้ว พระเจ้าวิละและพญาจ่าบ้าน ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความเห็นชอบตรงกันที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์ ไว้บำเพ็ญกุศลของท่าน ราชการในสำนักและไพร่ฟ้าประชาชน จึงประชุมเสนาอำมาตย์และชาวเมือง ที่ประชุมให้ความเห็นชอบพร้อมกับแสดงความยินดี “แสนหลวง” ได้รับมอบหน้าที่เป็นสล่า (นายช่าง) ออกแบบสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2338 เดือน 6 เหนือ เดือน 4 ใต้ออก ขึ้น 15 ค่ำ แถลรุ่ง (ใกล้อรุณ) จึงทำการฝังลูกนิมิตศิลา โดยอาราธนามหาเถระเจ้าจ่อคำต๊ะโรเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ พ่อเจ้าแสนหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายฆราวาส แบ่งหน้าที่ให้ผู้ชำนาญงานแต่ละด้านรับงานนั้น ๆ ไป โดยแยกออกเป็นหมวดหมู่ ต่อมาไม่นานนักพ่อเจ้าแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเจ้าพ่อได้สิ้นบุญไปแล้ว พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้าน จึงตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดแสนหลวง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พญาแสนหลวง

DSCF4381

DSCF4380

นอกจากวัดที่ถูกสร้างขึ้นแล้ว หลังจากนั้นยังมีการสร้าง หอศาลไว้ 2 หอ โดยหอคำสำหรับมหาเถรจ่อคำต๊ะโร ตั้งไว้ที่หลังวิหาร ปัจจุบัน หอคำหลังนี้ ตั้งอยู่ที่หลังอุโบสถ ส่วนอีกหนึ่งคือหอพญาแสนหลวง ตั้งไว้ที่หลังพระวิหาร ใกล้ศาลาบาตรใต้ต้นโพธิ์ ต่อมาคนทั่วไปเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อแสนหลวง” จนถึงปัจจุบัน

DSCF4377

ในส่วนของการสร้างหลักศิลาจารึกตั้งไว้นั้น มีพระครูสุวรรณสาธุกิจ เจ้าอาวาสวัดแสนหลวง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง รวมทั้ง พ่ออมร ศาสตรสาร โดยมูลเหตุในการสร้างนั้น เพราะว่ากลัวคนทั้งหลายจักลืมบุญคุณของพญาแสนหลวง ซึ่งก่อนที่จะทำการสร้างนั้น ได้มีการปรึกษาหารือกับเจ้าพ่อถวิล ณ เชียงใหม่ และคุณพ่อบุญมา ชัยแก้ว รวมทั้งได้รับการช่วยเหลืองบประมาณส่วนหนึ่งจากนายกเทศมนตรี อาจารย์คะนอง คนเล็ก พ่วงด้วยความช่วยเหลือในฐานะที่มีความรู้เรื่องประวัติศาตร์ด้วย

ทั้งนี้ การตั้งหลักศิลาจารึก บันทึกประวัติศาสตร์พญาแสนหลวง ได้ตั้งไว้ใกล้ๆ กับหอเจ้าพ่อแสนหลวง ในบริเวณวัดแสนหลวง