ท่องเวียงท่ากาน #1

DSCF1324

เชียงใหม่ นอกจากจะมีเวียงกุมกาม ให้ได้ชมกลุ่มโบราณสถานกันแล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่น่าสนใจใน อ.สันป่าตอง ซึ่งที่ที่ผมกำลังจะกล่าวถึง ก็คือ “เวียงท่ากาน”

“เวียงท่ากาน” ถ้าเราเดินทางมาจากตัวเมืองเชียงใหม่ ก็วิ่งรถมาตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่ – จอมทอง กันเลยครับ พอผ่านอำเภอสันป่าตองไปประมาณ 7  กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งเสี้ยว ให้เลี้ยวซ้ายข้างป้อมตำรวจเข้าไปประมาณ 2กิโลเมตร ผ่านบ้านต้นกอกไปจนถึงบ้านท่ากาน ก็เป็นอันว่าถึง เป็นแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน กันแล้วเรียบร้อย

DSCF1330

จากหลักฐานทางด้านตำนานปรากฏชื่อว่า เมืองตระการ สันนิษฐานว่า เวียงท่ากาน น่าจะได้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 สมัยพระเจ้าอาทิตยราชครองเมืองหริภุญไชย จากพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าเมืองนี้ในสมัยพญามังรายมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ มีชื่อว่า พันนาทะการ สมัยพระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพไปตีเมืองเงี้ยวก็ยังได้นำเชลยเงี้ยวไปไว้ที่พันนาทะการ ในปี พ.ศ. 2060 สมัยพระเมืองแก้วมีไทถิ่นต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ก็ให้ไปตั้งบ้านเรือนที่เวียงพันนาทะการอีก จนในปี พ.ศ. 2101 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองของพม่าตีได้เชียงใหม่และล้านนาไว้ในอำนาจให้พระเจ้าเมกุฏิครองเมืองเชียงใหม่ เวียงนี้ก็คงอยู่ในอำนาจของพม่าด้วย และภายหลังเจ้าองค์นกแข็งเมือง ปกครองตนเองและมีการต่อสู้กันจนเชียงใหม่ร้างไปในระยะปี 2318 – 2339 ประมาณ 20 ปีเศษ พันนาทะการก็อาจจะร้างไปด้วย จนสมัยพระเจ้ากาวิละตีเชียงใหม่คืนมาได้ และได้ปราบปรามเมืองอื่น ๆ ก็ให้เมืองนี้เป็นที่อยู่ของชาวไทลื้อเมืองยอง ซึ่งให้อยู่ทั้งที่พันนาทะการและเมืองลำพูน

DSCF1322

ในส่วนของ คำว่า "ท่ากาน" ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า "ต๊ะก๋า"ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อน นี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมืองบินลงจะทำ ให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้านจึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลย เรียกต่อกันมาว่าบ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมือประมาณ พ.ศ. 2450 จ้าอาวาสวัดท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่าบ้านต๊ะก๋าไม่เป็น ภาษาเขียน

DSCF1326

DSCF1323

สำหรับสภาพภายในตัวเมือง เดิมเป็นป่าทึบต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้าง เพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด ปัจจุบันบ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมือง โดยชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ่เป็นพวกชาวยองที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวีละปกครองเมืองเชียงใหม่ คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง

แล้วไว้มาต่อกันอีกตอนกับการลงพื้นที่สำรวจกันอย่างจริงจังกับเมืองโบราณที่มีนามว่า “เวียงท่ากาน” กันครับกระผม