วัดขุนคง

DSCF1531

ในอำเภอหางดง มีหลายวัดด้วยกันที่ถูกสร้างขึ้นในยุคอาณาจักรหริภุญชัยรุ่งเรือง ซึ่งบางวัดก็ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบหริภุญชัยและมอญติดมาด้วยโดยหนึ่งในนั้นมีชื่อของ “วัดขุนคง” รวมอยู่ด้วย

วัดขุนคง ตั้งอยู่ในบ้านขุนคง ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดร้างชื่อว่าวัดบ้านหง และต่อมาในยุคพระเจ้ากาวิละ ช่วงยุคเก็บผ้าใส่ซ้าเก็บผ้าใส่เมือง พระองค์ได้นำพวกละว้า จากอำเภอสันป่าตอง มาอยู่ที่หมู่บ้านร้างหมู่บ้านหง โดยมีผู้นำหมู่บ้านคือ ปู่ขุนคง ได้นำชาวบ้านมาพัฒนาสร้างหมู่บ้านขึ้น พร้อมบูรณะวัดร้างบ้านหงและเปลี่ยนชื่อเป็น วัดขุนคงหลวง ตามชื่อผู้นำหมู่บ้าน

DSCF1541

สำหรับสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดขุนคง ตรงหน้าวัด มีซุ้มประตูโขงมีลักษณะเป็นซุ้มยอมดอกบัวตูม สันนิษฐานว่า “โขง” หมายถึง “โค้ง” ซึ่งจะเห็นได้จากวงประตูรูปโค้งครึ่งวงกลมเชื่อว่าประตูโขงคงพัฒนามาจากทวารโตรณะ (Drava Torana) ของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกทางเข้าพุทธสถาน ประตูโขงมีลักษณะคล้ายปราสาทย่อส่วนซ้อนชั้น ส่วนหลายสุดเป็นยอดแหลม ซึ่งตามความหมายของคำว่า “ปราสาท” จะเห็นได้จากเหนือชั้นหลังคาเอนลาดจะสร้างปราสาทย่อส่วนซ้อนขึ้นไป ที่องค์ปราสาทจะมีซุ้มโค้งประดับ ในศิลปะอินเดียเรียกซุ้มโค้งนี้ว่า “กุฑุ (Kudu)” อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสวรรค์ชั้นฟ้า คือเขาไกรลาส ที่ประทับแห่งพระศิวะ หรือเขาพระสุเมรุศูนย์กลางแหงจักรวาล

DSCF1540

DSCF1542

ฝั่งขวามือหน้าวัด เป็นอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะ กษัตริย์องค์ที่ 13 ของระมิงค์นคร ในราชวงศ์กุนาระ เมื่อราว พ.ศ. 1200 ผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์และฝีมือในการยุทธวิธีสงคราม (พุ่งเสน้า)

DSCF1531

DSCF1539

จากนั้นเขยิบเข้ามาด้านในวัดมี พระวิหารโบราณแบบวิหารปิด ที่มีการสร้างผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีหน้าต่าง และช่องแสงโดยรอบทุกด้าน ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จของผัง ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา สร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองชั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด (หลังคาแผ่นไม้)

DSCF1533

DSCF1532

บริเวณด้านหลังพระวิหาร มีเจดีย์ ทรงกลมเป็นฐานสูงสี่เหลี่ยมย่อเก็จ เน้นชั้นมาลัยเถาที่ขยายใหญ่ขึ้น ยกสูงขึ้น องค์ระฆังถูกลดความสำคัญลงจนเหลือขนาดเล็ก มีบัวรัดรอบองค์ระฆัง บัลลังก์ย่อเหลี่ยม ส่วนที่อยู่ติดๆ กันกับวิหารมีอุโบสถล้านนาหลังขนาดเล็ก อันเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของภิกษุสงฆ์ นอกนี้ภายในวัดยังมีเครื่องราชกุกธภัณฑ์ เครื่องสูงของพระเจ้าองค์คำ (พระเจ้ากาวิละ) อยู่คู่กับวัด ปรากฏอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้กันอีกด้วยครับ