สะพานเม็งรายอนุสรณ์

DSCF8108

ไม่นับเรื่องของกิน ของฝากแถวสะพานเม็งรายอนุสรณ์อย่างร้านอัมพร ไส้อั่วเม็งรายกับข้าวหลามเม็งรายแล้วล่ะก็ แถวนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจให้ได้ศึกษาในแง่ของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็คือ สะพานเม็งรายอนุสรณ์ ที่ทอดตัวยาวข้ามแม่น้ำปิงให้ผู้คนได้สัญจรไปมากันอย่างสะดวก

สะพานเม็งรายอนุสรณ์ เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บริเวณตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมระหว่างถนนเชียงใหม่-ลำพูน กับถนนเจริญประเทศ เปิดใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2510 พร้อมๆ กันกับพิธีเปิดสะพานนวรัฐ และ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510

DSCF8072

DSCF8104

ทั้งนี้ ชื่อ "เม็งราย" เป็นการตั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายแด่ “พญาเม็งราย”ปฐมกษัตริย์แห่งนครล้านนาพระราชโอรสในพระเจ้าลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลวจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง (อ.เชียงแสนปัจจุบัน) กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง

โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์นั้น ในปี พ.ศ. 1818 ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง(อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้ขุนฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่ขุนเครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง

ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วเวียงชัยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับอยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม

พ.ศ. 1824 ขุนฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร(โอรสของพญายีบา) พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้ขุนฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองชั่วคราวขึ้นว่าเวียงชะแวและต่อมาก็สร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยอ้อยช้าง(ดอยสุเทพ)ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) 11 หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน

DSCF8101

DSCF8110

ส่วนอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพ่อขุนมังราย ก็จะมีพระราชานุสาวรีย์ พ่อขุนมังราย ที่ห้าแยกพ่อขุน จังหวัดเชียงราย และอีกที่คือ สะพานเม็งรายอนุสรณ์ จังหวัดเชียงใหม่สถานที่ที่ได้เกริ่นรายละเอียดกันไปตั้งแต่ต้นแล้ว